Google

Tuesday, November 1, 2022

เชิญเข้าร่วมทีมของฉันบนTikTok : ผมเป็นกัปตันบน TikTok มาเข้าร่วมทีมกับผมสิ แล้วคุณอาจมีโอกาสได้เงินด้วยนะจ๊ะ คลิกลิงก์สมัครได้เลยจ้า

 

เชิญเข้าร่วมทีมของฉันบนTikTok :

ผมเป็นกัปตันบน TikTok มาเข้าร่วมทีมกับผมสิ แล้วคุณอาจมีโอกาสได้เงินด้วยนะจ๊ะ คลิกลิงก์สมัครได้เลยจ้า

https://bit.ly/3WowuWi

Thursday, January 14, 2010

ตุรกี :Turkey




การเมืองการปกครองของตุรกี เป็นไปตามกรอบของการปกครองระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (parliamentary representative democratic republic) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาล และเป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค (multi-party system) ระบบการเมืองของตุรกีเป็นแบบแบ่งแยกอำนาจ โดยอำนาจบริหารถูกใช้โดยรัฐบาล อำนาจนิติบัญญัติถูกใช้โดยรัฐบาลและรัฐสภา ฝ่ายตุลาการมีอิสระจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ


ศึกษาย้อนกลับไปในอดีต ตุรกียุคใหม่ถูกสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1923 จากซากของมณฑลอนาโตเลีย(Anatolia)แห่งอาณาจักรอ็อตโตมาน โดยวีรบุรุษแห่งชาติชื่อ Mustafa KEMAL ซึ่งท่านผู้นี้ในเวลาต่อมาได้รับเกียรติยกย่องว่าเป็น Ataturk แปลว่า บิดาแห่งชาวเติร์ก ภายใต้การปกครองแบบอำนาจนิยมของท่านผู้นี้เองที่ตุรกีได้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวางทั้งทางด้านสังคม ด้านกฎหมาย และด้านการเมือง หลังจากยุคการปกครองระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวแล้ว ได้มีการทดลองใช้ระบบการปกครองแบบหลายพรรค อันนำไปสู่ชัยชนะของพรรคประชาธิปไตย (Democratic Party) ในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1950 และการถ่ายโอนทางการเมืองที่ดำเนินไปโดยสันติวิธี หลังจากนั้นมาพรรคการเมืองของตุรกีก็เป็นแบบหลายพรรคการเมือง(multi-party system) แต่การเมืองของตุรกีมักไม่มีเสถียรภาพเนื่องจากถูกแทรกแซงจากทหารเสมอมา โดยทหารได้ทำการรัฐประหารมาแล้ว 3 ครั้ง(ค.ศ. 1960,1971และ 1980) ซึ่งหลังการรัฐประหารในแต่ละครั้งก็จะตามมาด้วยการมีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน ในปี ค.ศ. 1997 คณะทหารได้ทำการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลพลเรือนอีกที่ยึดแนวทางของอิสลามครั้งหนึ่ง ตุรกีได้เข้าแทรกแซงทางทหารในไซปรัสในปี ค.ศ.1974 เพื่อป้องกันมิให้กรีซยึดครองเกาะไซปรัส และนับตั้งแต่นั้นมาก็ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐผู้ปกป้องคุ้มครอง Turkish Republic of Northern Cyprus โดยมีตุรกีเท่านั้นที่ให้การรับรอง ได้เริ่มเกิดกระบวนการก่อการ้ายเพื่อแยกดินแดนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984 โดยคณะพรรคการเมืองที่เรียกว่า Kurdistan Workers' Party (PKK) ซึ่งปัจจุบันมีชื่อเรียกใหม่ว่า People's Congress of Kurdistan or Kongra-Gel (KGK) การก่อการร้ายของพรรคการเมืองพรรคนี้ถูกปราบปรามโดยทหารตุรกีทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 30,000 คน หลังจากผู้นำกลุ่มผู้ก่อการร้ายคณะนี้ถูกจับได้เมื่อปี ค.ศ. 1991 ผู้ก่อการร้ายก็ได้ถอนตัวออกจากดินแดนของตุรกีและไปปักหลักอยู่ทางภาคเหนือของอิรัก ในปี ค.ศ. 2004 คณะผู้ก่อการร้ายได้ประกาศยุติการหยุดยิงและเริ่มปฏิบัติการโจมตีตุรกีเพิ่มมากขึ้น ตุรกีเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1945 และเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโตเมื่อปี ค.ศ. 1952 เป็นสมาชิกประเภทไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติวาระปี ค.ศ. 2009-10 ในปี ค.ศ. 1964 ตุรกีเป็นสมาชิกสมทบ (associate member) ของประชาคมยุโรป (European Community) ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาตุรกีได้ดำเนินการปฎิรูปประเทศหลายด้านเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านประชาธิปไตยและทางด้านเศรษฐกิจ และได้เริ่มเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิก (accession membership) ของสหภายุโรป(European Union) เมื่อปี ค.ศ. 2005

Thursday, January 7, 2010

เติร์กเมนิสถาน: Turkmenistan



การเมืองของเติร์กเมนิสถาน อยู่ในกรอบของระบอบสาธารณรัฐแบบมีประธานาธิบดี (a presidential republic) โดยที่ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขรัฐและเป็นประมุขรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว (a single-party system) แต่กำลังจะพัฒนาเป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (a multi-party system)

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีตกาล เติร์กเมนิสถานตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด Khurasan ของอาณาจักรเปอร์เซียมาหลายศตวรรษ ในช่วงยุคกลางเมือง Merv (ปัจจุบันคือเมือง Marry) เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ของโลกอิสลามและเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งบนเส้นทางสายไหม (Silk Road) เติร์กเมนิสถานถูกรัสเซียผนวกระหว่างปี ค.ศ. 1865-1885 และเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพในปี ค.ศ. 1924 ได้รับเอกราชภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 แม้ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนาแต่เป็นประเทศที่มีแหล่งสำรองไฮโดรคาร์บอนและแก๊สธรรมชาติอย่างมหาศาล รัฐบาลของเติร์กเมนิสถานกำลังพัฒนาเส้นทางขนส่งปิโตรเลียมของตนเองโดยจะไม่พึ่งพาท่อส่งปิโตรเลียมของรัสเซีย ประธานาธิบดี Saparmurat NYYAZOW ซึ่งเป็นประธานาธิบดีประเภทตลอดชีวิต ได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 และเติร์กเมนิสถานได้จัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีจากผู้สมัครหลายคนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ผลปรากฏว่า นาย Gurbanguly BERDIMUHAMEDOW รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนาย NYYAZO ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ

ตูวาลู:Tuvalu



การเมืองของตูวาลู อยู่ในกรอบของประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (a parliamentary representative democratic monarchy) โดยมีผู้สำเร็จราชการ (Governor-General) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (a multi-party system) อำนาจบริหารถูกใช้โดยฝ่ายรัฐบาล


ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต เมื่อปี ค.ศ. 1974 ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ภายในอาณานิคมของอังกฤษที่ชื่อ The Gilbert และ The Ellice Islands ทำให้ the Polynesians of the Ellice Islands ลงคะแนนเสียงแยกตัวออกจาก Micronesians of the Gilbert Islands ในปีถัดมา The Ellice Islands ก็ได้แยกตัวออกมาเป็นตูวาลู แต่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตูวาลูได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1978 ในปี ค.ศ. 2002 ตูวาลูได้เจรจาขอทำสัญญาเช่าโดเมนอินเคอร์เน็ตชื่อ .tv เป็นเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยมีระยะเวลาเช่า 12 ปี

ยูกันดา:Uganda



การเมืองของยูกันดาเอยู่ในกรอบของระบอบสาธารณรัฐแบบมีประธานาธิบดี (presidential republic) ซึ่งประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขรัฐและประมุขรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค (a multi-party system) อำนาจบริหารถูกใช้โดยรัฐบาล อำนาจนิติบัญญัติถูกใช้โดยรัฐบาลและรัฐสภา


ย้อนหลังกลับไปในอดีต ยูกันดาเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นประเทศที่มีความหลากหลายของระบบการเมืองและวัฒนธรรม ความหลายหลายการเมืองและทางวัฒนธรรมนี่เองที่เป็นสาเหตุขัดขวางมิให้การจัดตั้งประชาคมทางการเมืองเป็นไปได้อย่างราบรื่นเมื่อประเทศได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1692 มีรัฐบาลแบบเผด็จการของ Idi AMIN (ระหว่าง 1971-79) ทำให้ประชากรที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเสียชีวิตถึง 300,000 คน เกิดสงครามกองโจรและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระหว่างรัฐบาลของนาย Milton OBOTE (ระหว่าง ค.ศ.1980-85) ทำให้ประชากรเสียชีวิตถึง 100,000 คน ในช่วงรัฐบาลของนาย Yoweri MUSEVENI ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 มีเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญทางเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อย ระหว่างทศวรรษที่ 1990 รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและฝ่ายนิติบัญญัติโดยไม่สังกัดพรรค ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ยูกันดาเป็นสมาชิกประเภทไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวาระ ค.ศ. 2009-10

ยูเครน :Ukraine



การเมืองของยูเครนอยู่ในกรอบของระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี (a semi-presidential representative democratic republic) มีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (a multi-party system) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาล อำนาจบริหารถูกใช้โดยคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติถูกใช้โดยรัฐสภา


ย้อนหลังกลับไปหาอดีต ยูเครนเป็นศูนย์กลางของรัฐสลาฟตะวันออกรัฐแรกที่มีชื่อว่า Kyivan Rus ซึ่งในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 และคริสต์ศตวรรษ 11 เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดและมีอานุภาพมากที่สุดในยุโรป แต่ต่อมา Kyivan Rus เกิดความอ่อนแอเนื่องจากการขัดแย้งภายในและถูกมองโกลรุกราน จึงถูกผนวกเข้าไปอยู่ในอาณาจักร Grand Duchy of Lithuania และอาณาจักร Polish-Lithuanian Commonwealth ในที่สุด แต่มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมและทางศาสนาของ Kyivan Rus ได้เป็นรากฐานชาตินิยมยูเครนในช่วงหลายศตวรรษต่อๆมา รัฐยูเครนใหม่ชื่อว่า Cossack Hetmanate ได้ถูกจัดตั้งในระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ภายหลังเกิดการลุกฮือของประชาชนต่อต้านพวกโปล แม้ว่าจะถูกกดดันจากอำนาจภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่องแต่ Cossack Hetmanate ก็สามารถดำรงเป็นรัฐเอกราชอยู่นานกว่า 100 ปี ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ดินแดนทางชาติพันธุ์ของยูเครนเกือบทั้งหมดถูกผนวกเข้าไปอยู่ในอาณาจักรรัสซีย ภายหลังจากอาณาจักรของพระเจ้าซาร์ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1917 ยูเครนสามารถมีเอกราชในช่วงเวลาสั้นๆ(ค.ศ.1917-20) แต่ก็ถูกพิชิตด้วยกองทัพโซเวียตและถูกบีบบังคับให้กลับเข้าไปอยู่ในสหภาพโซเวียดดังเดิม และในช่วงนี้ได้ถูกกลั่นแกล้งให้ต้องตกอยู่ในภาวะอดอยากถึง 2 ครั้ง คือระหว่างปี ค.ศ 1921-22 และ ค.ศ.1932-33 ซึ่งทำให้ประชากรเสียชีวิตกว่า 8 ล้านคน ในสงครามโลกครั้งที่สอง มีประชากรยูเครนเสียชีวิตระหว่าง 7-8 ล้านคนจากการปฏิบัติการของกองทัพเยอรมันและกองทัพโซเวียต แม้ว่ายูเครนจะได้รับเอกราชหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 แต่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ยังเป็นเพียงภาพลวงตา เนื่องจากว่ายังมีมรดกตกทอดของการปกครองเก่าที่รัฐเข้าควบคลุมทุกอย่างและการทุจริตคอรัปชั่นเป็นตัวอุปสรรคขัดขวางการปฏิรูปเศรษฐกิจ การโอนกิจการของรัฐให้เป็นของเอกชน และเสรีภาพของพลเมือง การประท้วงของมวลชนที่เรียกว่า Orange Revolution ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2004 ได้บีบบังคับให้ทางการของรัฐต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติ และเป็นผลให้นักปฏิรูปอย่างนาย Viktor YUSHCHENKO เป็นประธานาธิบดี แต่ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มการเมืองของเขาจึงเปิดทางให้คู่แข่งของเขาคือนาย Viktor YANUKOVYCH ไดรับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา และเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 ในการเลือกตั้งก่อนกำหนดภายหลังวิกฤติการณ์ทางการเมืองในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี ค.ศ.2007 ทำให้ Yuliya TYMOSHENKO ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มพันธมิตร Orange ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007

Tuesday, December 22, 2009

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์:United Arab Emirates




การเมืองการปกครองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นไปในกรอบของราชาธิปไตย มีรัฐต่างๆมารวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาล ทั้งนี้โดยเจ้าผู้ครองนครรัฐอาบูดาบีเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเจ้าผู้ครองรัฐดูไบเป็นนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เมื่อครั้งอดีตกาล รัฐชายฝั่งอ่าวเปอร์เซียรัฐนี้ ได้ยินยอมให้สหราชอาณาจักรเข้าควบคุมกิจการด้านการป้องกันประเทศและด้านกิจการต่างประเทศตามสนธิสัญญาที่ลงนามกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อถึงปี ค.ศ. 1971 รัฐทั้ง 6 คือ อาบูดาบี, อัจมาน, ดูไบ, ฟูไจราห์, ชาจาห์ และ อุมม์อัลไกไวน์ได้รวมตัวกันเป็นประเทศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(United Arab Emirates =UAE) ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1972 รัฐราชอัลไคมาห์ ได้เข้ามารวมตัวอีกรัฐหนึ่ง รวมเป็น 7 รัฐ รายได้ต่อหัวจีดีพี (GDP) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สูงมาก คือสูงเท่าประเทศยุโรปตะวันตกชั้นนำเลยทีเดียว เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีรายได้จากน้ำมันมากเพราะมีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลาง ทำให้เป็นรัฐมีบทบาทสำคัญในกิจการต่างๆของภูมิภาคตะวันออกกลาง
Custom Search

Google